- รายวิชาของอาจารย์อัจฉรา สำหรับนักศึกษาสาขานิเทศศิลป์ สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ และสาขาศิลปภาพถ่าย
- Teacher: อ.สิรดา ศรีแก้ว
- Teacher: อ.ชินภัศร์ กันตะบุคร
อธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับรายวิชาของท่าน- Teacher: ดนยา เชี่ยววัฒกี
อธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับรายวิชาของท่านศึกษาทฤษฎีเบื้องต้นสำหรับการออกแบบ 3 มิติ ฝึกฝนทักษะ และกระบวนการสร้างความคิด ในการออกแบบจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทัศนธาตุ ทางศิลปะและการออกแบบ (Art/Design Elements) และ หลักการออกแบบ (Design Principles) เน้นความเข้าใจ เรื่องมิติ การกินระวาง พื้นที่ความสัมพันธ์ของขนาด และพื้นที่การสื่อความหมาย และความคิดสร้างสรรค์ โดยเน้นการออกแบบเป็น 3 มิติ เพื่อสามารถประยุกต์เป็นผลงานสร้างสรรค์ทางการออกแบบได้ตามสาขาวิชาชีพ ฝึกฏิบัติงานในห้องเรียนและนอกสถานที่ วิจารณ์แนะนำเป็นกลุ่มและรายบุคคล
ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ รูปลักษณะ แบบแผนศิลปกรรมไทย ประเพณีและร่วมสมัยที่ เกี่ยวข้องกับสังคมวัฒนธรรมไทยที่มีต่อการสร้างผลงานด้านวิจิตรศิลป์ และด้านหัตถศิลป์ไทย เพื่อให้เข้าใจรากฐานทางภูมิปัญญาในการออกแบบ และนำสู่การสร้างแนวคิดและประยุกต์สู่การออกแบบวิชาชีพศิลปกรรมด้านการออกแบบภายใน ออกแบบนิเทศศิลป์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบแฟชั่น ฯลฯ ให้เหมาะสมกับรูปแบบ และการใช้งานในยุคปัจจุบัน
ศึกษาการวาดเส้นเหมือนจริง เพื่อเน้นทักษะในการนำเสนอในวิชาชีพ มุ่งเน้นการวาดภาพ เฉพาะทาง เช่น ภาพบุคคล สัตว์ ทิวทัศน์ของธรรมชาติ สถาปัตยกรรม ฯลฯ โดยอาศัยหลักทัศนียวิทยา กายวิภาค ฝึกปฏิบัติด้วยเทคนิคและอุปกรณ์การวาดเส้นที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาทักษะการวาดภาพนำไปสู่การสร้างสรรค์ที่มีลักษณะเฉพาะบุคคลในวิชาชีพ ฝึกปฏิบัติงานในห้องเรียนและนอกสถานที่ วิจารณ์แนะนำเป็นกลุ่มรายบุคคล
ศึกษาหลักและเทคนิคการเขียนแบบเบื้องต้น ฝึกปฏิบัติงานในชั้นเรียน โดยเริ่มฝึกตั้งแต่ การใช้เครื่องมือในการเขียนแบบ ทฤษฎีเรขาคณิต การใช้สัญลักษณ์ แสดงแบบ การเขียนลายมือ การเขียนแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเขียน แบบและอ่านแบบที่เป็นภาษาสากล หรือสร้างภาพต่อไป
ศึกษาประวัติความเป็นมาทางด้านจิตรกรรมในรูปแบบของยุคสมัยต่างๆ ฝึกปฏิบัติการ สร้างงานด้วยเทคนิคสีน้ำ, สีชอล์ก ฯลฯ โดยเน้นความเข้าใจในเทคนิคและคุณสมบัติของสีแต่ละชนิด ตลอดจนคุณค่าทางสุนทรียภาพ เพื่อสร้างทักษะในการนำไป ประยุกต์ใช้กับการสร้างภาพจิตรกรรมในงานออกแบบวิชาศิลปกรรม
ศึกษาทฤษฎีเบื้องต้นสำหรับการออกแบบ 2 มิติ ฝึกฝนทักษะ และกระบวนการสร้างความคิดใน การออกแบบจากการใช้ทัศนธาตุทางศิลปะและการออกแบบ (Art/Design Elements) อันได้แก่ จุด เส้น ระนาบ รูปร่าง รูปทรง ลักษณะพื้นผิว สี น้ำหนัก พื้นที่ว่าง และหลักการออกแบบ (Design Principles) เอกภาพ จังหวะ ความสมดุล สัดส่วน และการสื่อสัญลักษณ์ทางการออกแบบ เพื่อพัฒนาทักษะทางการออกแบบที่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานในสาขาวิชาชีพในระดับชั้นปีที่สูงขึ้น ฝึกปฏิบัติงานในห้องเรียนและนอกสถานที่ วิจารณ์แนะนำเป็นกลุ่มและรายบุคคล
ศึกษาค้นคว้าหลักพื้นฐานทางทฤษฎีสี ที่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการออกแบบ คุณสมบัติของสี การรับรู้เรื่องสี ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในงานออกแบบ จากการใช้สี คุณลักษณะต่างๆ เช่น การใช้สีเอกรงค์ การใช้สีแบบกลมกลืน การใช้สีแบบขัดแย้ง ตลอดจน ศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาของสี และการสื่อความหมาย ในงานออกแบบ ฝึกฝนทักษะเทคนิคการใช้สื่อสีประเภทต่างๆ เช่น สีน้ำ, สีโปสเตอร์ ฯลฯ รวมถึงการใช้สีจากการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ โดยศึกษาจากธรรมชาติ, หุ่นนิ่ง, ผลงานศิลปะ, งานออกแบบของศิลปินและนัก ออกแบบ เพื่อพัฒนาทักษะเกี่ยวกับทฤษฎีสี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการสร้างสรรค์งานออกแบบใน สาขาวิชาชีพในระดับชั้นปีที่สูงขึ้น วิจารณ์แนะนำเป็นกลุ่มและรายบุคคล